เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมร้านค้าหรือธุรกิจบางอย่าง ที่ขายของเหมือนกัน แถมยังมาตั้งร้านใกล้ๆ กัน ทำไมถึงยังขายได้มากกว่า ยกตัวอย่างก็เช่นปั๊มน้ำมัน, ร้านไก่ทอด, หรือแม้แต่ร้านกับข้าว การที่ลูกค้าเลือกซื้อร้านค้าร้านใดมากกว่า ล้วนเป็นการนำทฤษฎี Nash Equilibrium มาใช้ให้เป็นทางเลือกกับลูกค้าในการตัดสินใจซื้อนั่นเอง
สนใจติดต่อผลิตสินค้าแพคเกจจิ้ง และอุปกรณ์ออกบูธ
คลิ๊ก >> Tumtook.com/Addline
Add Line : @Tumtook
-
ทฤษฎี Nash Equilibrium คืออะไร ?
ทฤษฎี Nash Equilibrium มีจุดเริ่มต้นมาจากนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่มีชื่อว่า จอห์น ฟอร์บส์ แนช จูเนียร์ (John Forbes Nash Jr) ที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1994 และนอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1958 นิตยสารFortune ได้ยกย่องให้แนช เป็นบุคคลที่มีความสำเร็จด้านทฤษฎีเกม เรขาคณิตเชิงพีชคณิต(Algebraic geometry) ทฤษฎีไม่เชิงเส้น(Non-linear theory) และยังเรียกแนชว่า เป็นนักคณิตศาสตร์รุ่นใหม่ที่ฉลาดที่สุดในเวลานั้นด้วย
ในปีค.ศ. 1950 แนชได้นำเสนอวิทยานิพนธ์ ที่มีชื่อเรื่องว่า “Non-cooperative Games” ซึ่งหมายถึง เกมที่ไม่มีการร่วมมือกัน หรือเกมการแข่งกัน โดยจะมีทฤษฎีแนชที่ปรากฏในนั้นในเรื่องของดุลยภาพ ซึ่งทุกปัญหาของเกมจะสิ้นสุดลงโดยพบดลุยภาพของแนชอยู่อย่างน้อย 1 ดุลยภาพ
ทฤษฎีเกม (Game theory) และทฤษฎีดุลยภาพของแนช(Nash Equilibrium) ได้มีการพูดถึงการวิเคราะห์เกมที่มีผู้เล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนจะไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การเล่นของตัวเอง ในขณะที่คนอื่นยังคงใช้กลยุทธ์เดิม
-
ทฤษฎี Nash Equilibrium สามารถนำมาใช้ในการตลาดได้อย่างไร ?
จากคำถามข้างต้น ที่บอกว่าทำไมร้านหรือธุรกิจที่ขายของเหมือนกัน แถมยังตั้งอยู่ติดๆ กัน ทำไมยังขายได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎี “Nash Equilibrium” กล่าวคือ กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจต่างๆ เหล่านั้นเป็นคนกลุ่มเดียวกัน และถ้ามีร้านใกล้เคียงที่อยู่บริเวณเดียวกัน ลูกค้ากลุ่มนี้ก็มีโอกาสที่จะแวะเข้าไปทั้งสองร้าน ยกตัวอย่างเช่น เรามักจะเห็น Mcdonald และ KFC อยู่ติดกัน สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจเข้ามาซื้อสินค้าได้ จะต้องมีการทำโปรโมชั่นหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าด้วย
อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าร้านหรือธุรกิจจะอยู่ใกล้กัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเกิดการแข่งขันกันเสมอไป แต่ถือเป็นเรื่องที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันในทางการตลาดอีกด้วย เพราะเป็นการสร้างทางเลือกและเปลี่ยนความคิดของลูกค้าในการใช้เงิน คือเป็นการเปลี่ยนความคิดของลูกค้าว่า “จะซื้อของร้านนี้ดีไหม ? ” มาเป็น “จะซื้อของจากร้าน A หรือร้าน B ดี ?” เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าใช้เงิน ไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม
ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ทฤษฎี Nash Equilibrium เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดบริการหนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องหาสินค้าที่แตกต่างมาขาย เพียงแต่อาจจะต้องเปลี่ยนตัวเองให้กลายมาเป็นส่วนเติมเต็มของร้านอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงที่มีสินค้าเดียวกัน นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ทฤษฎีนี้ มาวิเคราะห์หาข้อได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาดได้อีกด้วย เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาด ที่จะทำให้ลูกค้าหันมาใช้บริการร้านคุณได้มากกว่านั่นเอง
Tumtook คิดถึงงานพิมพ์ คิดถึงทำถูก