เคยหรือไม่? ซื้อสินค้ามาผิด เพราะสินค้ามีการออกแบบหน้าตามาคล้ายกัน เทคนิคการออกแบบสินค้ามาให้มีความคล้ายคลึงกันนี้ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่อาศัยความนิยมและความจดจำของลูกค้ามาเป็นจุดขาย ด้วยการตั้งชื่อให้คล้ายกัน หรือการทำสีผลิตภัณฑ์ออกมาใกล้เคียงกัน โดยวิธีการสร้างความเข้าใจผิดนี้แท้ที่จริงแล้วนับเป็นเรื่องที่ผิดหรือไม่? ลองมาวิเคราะห์หาคำตอบไปด้วยกันได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อผลิตสินค้าแพคเกจจิ้ง และอุปกรณ์ออกบูธ
คลิ๊ก >> Tumtook.com/Addline
Add Line : @Tumtook
การตลาดที่เหมือนกับการสร้างของเลียนแบบนี้ โดยอาจอ้างอิงว่าเป็นการสร้างมาจาก “แรงบันดาลใจ” ได้เป็นเหมือนดาบสองคมที่อาจส่งผลดีได้ จากการทำสินค้าออกมาได้ดีกว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์เดิม หรืออาจเป็นผลเสียครั้งใหญ่ที่หากสินค้าทำออกมาได้ไม่มีคุณภาพเท่าเทียม ก็จะไม่สามารถมีกลุ่มลูกค้าหรืออาจถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาได้
โดยที่ผ่านมา แม้แต่กับบริษัทผลิตสินค้ารายใหญ่ก็ยังได้มีการพยายามใช้กลยุทธ์การทำสินค้าให้เหมือนคู่แข่ง เพื่อออกมาสร้างกระแสและใช้วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกฏหมายได้มากที่สุด แต่ปัญหาสำคัญของการผลิตสินค้าให้เหมือนกับคู่แข่ง ก็คือการขาดความแตกต่างและความโดดเด่น ทำให้ในเมื่อสินค้าที่เหมือนกันไม่มีอะไรที่ดีกว่า หรือแตกต่างจากคู่แข่งที่ผลิตสินค้ามาก่อนแล้ว ลูกค้าก็ไม่มีเหตุผลที่จะเลือกซื้อสินค้าใหม่ที่มีความคล้ายกันเลย ส่งผลให้สุดท้ายการแข่งขันจะไปจบลงที่การแข่งด้านราคาเพียงอย่างเดียว
ในทางกลับกัน การสร้างความแตกต่างและความโดดเด่นให้กับสินค้าและบริการของตนเองให้ได้ เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการแข่งขันระยะยาว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และการให้ความสำคัญกับคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับให้มากที่สุด แทนที่จะพยายามผลิตสินค้าให้เหมือนกับคู่แข่ง เพื่อสร้างความแตกต่างและความเชื่อมั่นจากลูกค้าได้
Tumtook คิดถึงงานพิมพ์ คิดถึงทำถูก